เมนู

ความดับสูญ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ 5
เหล่านี้ ตามความเป็นจริง. เราตถาคต เรียกอริยสาวกนี้ว่า โสดาบัน
(ผู้ถึงกระแส) ผู้มีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ผู้เที่ยงแท้ (ที่จะบรรลุ
อรหัตตผล) ผู้ที่จะได้ตรัสรู้ในภายหน้า.
จบ โสตาปันนสูตรที่ 7

8. อรหันตสูตร

1

ว่าด้วยพระอริยสาวก ผู้เป็นอรหันตขีณาสพ



[297] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์เหล่านี้
มี 5 อย่าง. 5 อย่างคืออะไร ? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทาน-
ขันธ์คือวิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุรู้แจ้ง
เหตุเกิด ความดับสูญ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง-
อุปาทานขันธ์ทั้ง 5
เหล่านี้ ตามความจริง. แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะ
ไม่ยึดมั่นแล. เราตถาคตเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว มีประโยชน์ตนได้
บรรลุแล้วตามลำดับ มีภวสังโยชน์สิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ.
จบ อรหันตสูตรที่ 8

9. ฉันทปหีนสูตร

2

ว่าด้วยการละความพอใจในขันธ์ 5



[298] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละฉันทะ
1. อรรถกถาแก้รวมไว้ในสูตรที่ 5
2. อรรถกถาแก้รวมไว้ในสูตรที่ 4

(ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ตัณหา
(ความทะยานอยาก) ในรูป รูปนั้นที่เธอทั้งหลายละได้แล้วอย่างนี้
จักมีรากขาด ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่เป็น มีการ
ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เธอทั้งหลายจงละฉันทะ... ในเวทนา...
ในสัญญา... ในสังขาร...
เธอทั้งหลายจงละฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา
ในวิญญาณ.
วิญญาณนั้นที่เธอทั้งหลายละแล้วอย่างนี้ จักมีรากขาด
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่เป็น มีการไม่เกิดขึ้นต่อไป
เป็นธรรมดา.
จบ ฉันทปหีนสูตรที่ 1

10. ฉันทปหีนสูตรที่ 2



ว่าด้วยการละความพอใจ ในขันธ์ 5



[299] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ
ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุบาย (การเข้าถึง) อุปาทาน อันเป็นที่ตั้ง
เป็นที่อยู่ประจำ และที่อยู่อาศัยแห่งจิตในรูปเสีย รูปนั้นที่เธอทั้งหลาย
ละแล้วอย่างนี้ จักมีรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มีไม่เป็น มีการไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เธอทั้งหลาย
จงละ... ในเวทนา... ในสัญญา... เธอทั้งหลายจงละ ฉันทะ ราคะ นันทิ
ตัณหา อุบาย
(การเข้าถึง) อุปาทาน อันเป็นที่ตั้ง เป็นที่อยู่ประจำ
เป็นที่อยู่อาศัยแห่งจิต ในสังขารทั้งหลายเสีย. สังขารทั้งหลายเหล่านั้น
ที่เธอทั้งหลายละแล้วอย่างนี้ จักมีรากขาด ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มีไม่เป็น มีการไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เธอทั้งหลาย
จงละ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุบาย อุปาทาน อันเป็นที่ตั้ง เป็นที่อยู่